วันพุธที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2558



บันทึกอนุทินครั้งที่ 13

ประจำวันพุธ - พฤหัสบดี
ที่8 - 9 เดือนเมษายน พ.ศ 2558

>>>>>>>>>>>>>>> ความรู้ที่ได้รับ <<<<<<<<<<<<<<<


มุ่งมั่นกับการสอนมากค่ะ 
ตัวอย่างตารางการจัดกิจกรรมแบบไฮสโคป

วันนี้อาจารย์อธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับเทคนิคสิ่งที่ครูควรทราบและวิธีการเขียนเเผนการจัดประสบการณ์ศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัยเพิ่มเติม 
โดยมีรายละเอียดดังนี้

  1. การใช้พื้นที่ในกระดาษของเด็กในการทำงานศิลปะควรเว้นพื้นที่ด้านล่างประมาณ 1 ไม้บรรทัดเพื่ออธิบายผลงานหรือข้อความของเด็ก
  2. ห้ามเขียนแยกองค์ประกอบของภาพเป็นส่วนๆครูพยายามเขียนเป็นประโยคเพื่อให้เด็กได้ภาษาในการสื่อสาร
  3. ถ้าเป็นงานสีน้ำควรนำผลงานไปตากให้เเห้งก่อนนำมาเขียนอธิบายผลงาน
  4. ถ้าเป็นดินน้ำมันหรือเเป้งโดว์ให้เด็กถือผลงานที่ปั้นหรือเขียนชื่อเด็กก่อนจากนั้นนำกระดาษมาแปะตรงผลงานของเด็กพร้อมกับคำอธิบายผลงานตามที่เด็กบอกเพืื่อให้เด็กได้เ็นงานศิลปะของตนเองเเละของเพื่อน
  5. แป้งโดว์มีข้อจำกัดในเรื่องของระยะเวลาที่น้อยกว่าดินน้ำมัน
  6. งานศิลปะบางอย่างต้องหาที่วางงานศิลปะให้กับเด็ก
  7. งานศิลปะมีการเปลี่ยนเเปลงไปตามหน่วยการเรียนรู้ของเด็กในเเต่ละสัปดาห์
  8. งานศิลปะบางชิ้นเด็กสามารถนำกลับบ้านได้เพื่อนำไปให้ผู้ปกครองได้ดูผลงานที่เด็กผลิตขึ้น
  9. ขั้นสรุปหรือนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน อาจจะให้นำเสนอผลงานในเเต่ละกลุ่มกิจกรรมละ 3-4 คนในชั่วโมงนั้นๆและมานำเสนอผลงานเพิ่มเติมในตอนเย็นทั้งนี้ควรคำนึงถึงบริบทในเรื่องของเวลาเเละจำนวนของเด็ก
 การจัดการเรียนรู้แบบไฮสโคป


การนำไปประยุกต์ใช้

  • การคำนึงถึงในเรื่องพัฒนาการของเด็กเป็นหลักว่าในวันนั้นๆเด้กสามารถทำอะไรได้บางและเด็กสมควรที่จะต้องทำอะไรได้บางเพื่อให้เป็นไปตามพัฒนาการตามวัยที่เหมาะสม
  • งานศิลปะที่เด็กผลิตออกมาสามารถบูรณาการในการเรียนรู้ในหน่วยการเรียนรู้อื่นๆได้ เช่น วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษา
  • ครูต้องเป็นผู้ที่จะพัฒนาจุดเด่น และจุดด้อยในตัวของเด็กให้พัฒนาไปพร้อมๆกันโดยไม่มุ่งเน้นไปตรงจุดเด่นหรือจุดด้อยเพียงอย่างเดียว
การประเมินหลังการสอน 
ประเมินตนเอง : มาเรียนสายบ้างแต่ก็พยายามตามงานที่อาจารย์มอบหมายให้ทำจนครบและเข้าใจในเนื่อหาที่อาจารย์ถ่ายทอดอย่างละเอียดแต่เนื่องจากตอนนี้ไม่มีเเว่นตาใส่และสายตาหนูมันก็สั้นมากๆถึงจะตั้งใจฟังขนาดไหนแต่ตามองไม่ค่อยเห็นก็มีบางที่ไม่ค่อยเข้าใจเพราะไม่ได้เห็นตัวอย่าง วิธีการหรือการสาธิตหน้าชั้นเรียน 
ประเมินเพื่อน : เพื่อนมาเรียนกันตรงเวลาเเต่งกายเรียบร้อยและมีส่วนร่วมในการร่วมตอบคำถามในชั้นเรียนอย่างกระตือรือร้น
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ไม่ใส่สูทก็ดูดีไปอีกแบบ ดูสบายตาดีบางทีชุดไทยอาจจะเหมาะกับอาจารย์ก็เป็นได้นะคะ 5555 อาจารย์อธิบายเนื้อหาเเละเเเนะนำเทคนิคที่สามารถนำไปใช้ได้อย่างไม่มีหวงวิชาพร้อมเเนะแนวทางการเเก้ไขปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นให้ในระหว่างจัดกิจกรรมเช่น การเเบ่งกลุ่มกิจกรรม




วันศุกร์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2558


บันทึกอนุทิน ( พิเศ๊ษ พิเศษ) 

กิจกรรมศิลปะในกล่องใส่ CD  

วัสดุ/อุปกรณ์ 



  1. ดินนำมัน
  2. กล่องใส่CD
  3. น้ำยาเคลือบเล็บ
  4. ไม้จิ้มฟันสำหรับตกเเต่งลวดลาย
วิธีทำ




นำดินน้ำมันสีที่ต้องการมาปั้นเป็นรูปต่างๆตามจินตนาการ (หากอยากได้สีที่เเตกต่างจากนี้ก็ผสมสีของดินน้ำมันแต่ละสีได้เลยจ้า สีเข้ม-อ่อน เลือกตามอัตราส่วนที่ต้องการเลย)




นำดินน้ำมันที่ปั้นได้รูปร่างหรือรุปทรงที่ต้องการแล้วมาแปะลงในกล่องใส่CDกดทับในดินน้ำมันแบนเรียบหรือต้องการให้นูนๆมีมิติก็จัดการตามใจชอบเลยจ้า




นำไม้จิ้มฟันมาตกแต่งลวดลายเมื่อได้รูปตามจินตนาการของเราเรียนร้อยเเล้วนำน้ำยาเคลือบเล็บมาทาเพื่อให้เกิดความเงางาม ปิ๊งๆๆๆๆๆ

เสร็จแล้วค่าาาาาาถ่ายตอนกลางคืนเลยมืดไปหน่อย





วันศุกร์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 12 
ประจำวันจันทร ที่ 30 เดือนมีนาคม พศ 2558
วันนี้เรียนเสริมการเขียนแผนศิลปะสร้างสรรค์ในคาบเรียนของรายวิชาการจัดประสบการณ์การเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัยค่ะ


หน้าตาอาจารย์จริงจังกับการสอนเขียนแผนมากค่ะ ฮ่าๆๆๆ
หลักการจัดประสบการณ์
  1. ศึกษาคู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย
  2. วิเคราะห์ตัวหลักสูตร
  3. วิเคราะห์ประสบการณ์การเรียนรู้และประสบการณ์สำคัญ
  4. กำหนดรูปแบบการเรียนรู้
  5. เขียนแผนการจัดประสบการณ์
วิธีการเขียนแผนการจัดประสบการณ์
  • เลือกเรื่อง : เลือกจากความสนใจของเด็กส่วนใหญ่ หัวข้อของเรื่องนั้นต้องไปกว้างจนเกินไปเพราะจะเป็นการยากในการกำหนดเนื้อหาที่เด็กต้องเรียนรู้ในหัวข้อนั้นๆ
  • การระดมความคิด : จัดเรียงระบบความคิดรวบยอดให้ออกมาในรูปแบบของ " แผนผังความคิด "
  • คิดกิจกรรม : ศึกษาจาก 6 กิจกรรมหลัก
  • จัดกิจกรรมตามพัฒนาการ : คำนึงถึงพัฒนาการในเเต่ละช่วงวัยของเโ็กปฐมวัยในเเต่ละขั้นอย่างละเอียดว่าเด็กเเต่ละช่วงวัยเขาสามารถทำอย่างไรได้บ้างในวัยของเขาซึ่งการเรียนรู้ที่เด็กได้จะต้องพัฒนาเด็กแบบองค์รวม คือ ร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา
  • จัดทำแผนการจัดประสบการณ์ : รูปแบบของการจัดประสบการณ์อย่างมีระบบเรียงลำดับความยากง่ายของกิจกรรมนั้นๆ มีการสังเกต จดบันทึก ในการจัดทำทุกครั้งเพื่อประสิทะิภาพสูงสุดในการประเมินศักยภาพของเด็กแต่ละบุคคล
การประเมิน 
  • ประเมินผลทั้งทางทฏษฏีและการปฏิบัติ
  • การประเมินต้องสอดคล้องกับมาตรฐานเเละตัวชี้วัดของการศึกษาปฐมวัย
  • ประเมินตรงไปตรงมาตามสภาพจริง
  • นำผลที่ได้จากการประเมินไปสู่การแปรผล หาข้อสรุป อย่างเป็นระบบสมเหตุสมผล
  • มีความเที่ยงตรงเป็นธรรมคำนึงถึงหลักความเป็นจริงของเด็ก
ตัวอย่างแผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์












การนำไปประยุกต์ใช้
  1. จัดทำแผนการจัดประสบการณ์ได้ตรงความมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตร
  2. คำนึงถึงพัฒนาการ ความสามรถ ของเด็กในเเต่ละช่วยเป็นเป็นสำคัญ
  3. สื่อหรือวัสดุที่หลากหลายทำให้การจัดประสบการณ์ในการเรียนรู้ สนุกสนานมากยิ่งขึ้น
  4. ครูเป็นหัวใจหลักในการจัดทำแผนประสบการณ์การเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ
  5. การประเมินเด็กที่ดีที่สุดของปฐมวัย คือการสังเกตเด็กอย่างเป็นระบบและมีการจดบันทึกเพื่อนำไปวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล
การประเมินหลังการสอน
ประเมินตนเอง : ไม่ค่อยเข้าใจเพราะนั่งหลังสุดสายตาสั้นมองไปค่อยเห็นเวลาที่อาจารย์อธิบายหน้าชั้นเรียนแต่เพราะเรียนได้เรียนกับอาจารย์ในการเขียนแผนในรายวิชาอื่นจึงพอมีความรู้เเละหลักการในการเขียนแผนอยู่บ้าง
ประเมินเพื่อน : วันนี้เพื่อนมารวมตัวกันถึงสองห้องเมื่อมาเจอกันเรื่องเสียงไม่ต้องพูดถึงเม้าส์กันเป็นระยะๆเสียงดังขึ้นเมื่อเจอเรื่องตื่นเต้น เช่น อาจารย์สั่งการบ้านเป็นต้น ฮ่าๆๆๆๆๆ
ประเมินอาจารย์ : สอนเข้าใจง่าย เป็นระบบขั้นตอนดี ไม่ยุ่งยาก
เข้าสอนตรงเวลา แถมยังหาเวลาเรียนมาชดเชยเวลาเรียนที่ขาดอีก โอ้วววววว" รับใบประกาศอาจารย์ดีศรีปฐมวัย"ไปเลยค่ะขยันจริงอะไรจริงอ่ะค่าาาาาา 






บันทึกอนุทินครั้งที่ 11
ประจำวัน พุธที่ 25 เดือนมีนาคม พศ 2558
วันนี้มีงาน 3 ขิ้นจ้าาาาาาา มีน้อยอย่าคิดว่าจะเสร็จเร็วนะจ๊ะโห๊ะๆๆๆใช้เวลานานมากขอบอก(แอบขอบ่น)

ชิ้นที่ 1 ศิลปะจากกระดาษทิษชู


ชื่อผลงาน...........ผลิดอกออกผล


อุปกรณ์ 
  • กระดาษทิษชู
  • สีผสมอาหาร
  • กาว
  • กระดาษเปล่า
  • ไม้จิ้มฟัน
วิธีการทำ
  1. การทำกระดาษทิษชูเปียก คือ นำสีผสมอาหารผสมกับน้ำเปล่าในปริมาณพอเหมาะจากนั้นผสมกาวลาเเท็กลงไปกวนในเข้ากัน
  2. ฉีกกระดาษทิษชูเป็นชิ้นเล็กๆใส่ลงไปในส่วนผสมข้อที่ 1 ที่เราเตรียมไว้พร้อมคนให้เข้ากันเป็นอันเสร็จ
  3. นำกระดาษเปล่ามาวาดโครงร่างรูปที่เราต้องการ
  4. น้ำกระดาษทิษชูมาแปะหรือตกแต่งตามรูปที่เราวาดโครงเอาไว้โดยใช้ไม้จิ้มฟันเป็นตัวช่วยจิ้มกระดาษทิษชูให้ติดเข้ากับกระดาษเปล่า
  5. นำไปตากลมให้เเห้งสนิท
เกร็ดเล็กๆน้อยๆตามคำบอกเล่าของอาจารย์
  1. การทำทิษชูเปียกไม่ควรทำไว้นานเป็นจะทำให้ทิษชูเน่าเหม็อนได้
  2. การทำทิษชูเปียกสามารถนำมาใช้เเทนกาวหรือเเป้งเปียกได้
  3. ผลงานที่ได้ไม่ควรนำไปตากเเดดร้อนๆเพราะจะทำให้กระดาษย่นส่งผลให้ผลงานผิดรูปร่างลักษณะจากเดิม
  4. นอกจากกระดาษทิษชูแล้วยังสามารถประยุกต์ใช้ได้กับกระดาษประเภทอื่นๆได้ เช่น กระดาษหนังสือพิมพ์ กระดาษนิตยาสาร เป็นต้น
  5. การผลิตผลงาน(ทิษชู) หากทำหนาจะเเห้งช้ากว่าเเต่มีความสวยงามมากกว่าแบบบางนะจ๊ะ
ชิ้นที่ 2 ศิลปะจากใบไม้เเห้ง (งานกลุ่ม )

ทะเลดอกไม้

อุปกรณ์
  • กระดาษ
  • ใบไม้ / ดอกไม้เเห้ง
  • สี
  • กาว
  • กรรไกร
  • ปากกาเมจิสีต่างๆ
วิธีการทำ
  1. นำดอกไม้ / ใบไม้มาตัด แปะ ติด ตามจินตนาการ 
  2. ตกแต่งให้สวยงามตามใจชอบ


ชิ้นที่ 3 ศิลปะสื่อผสม (งานกลุ่ม)


งานชิ้นนี้เป็นการทำทักษะ เทคนิค วิธีการต่างๆมาต่อยอดผลงานศิลปะสื่อผสม เช่น การวาด การพับ การระบายด้วยสีน้ำ การตัดเเปะ เป็นต้น

การนำประยุกต์ใช้ 
  1. เลือกเทคนิคที่เหมาะสมกับเด็กแต่ละช่วยวัยโดยคำนึงถึงพัฒนาการของเด็กเป็นสำคัญ
  2. ความหลากหลายทางความคิดที่จะถ่ายทอดออกมาทางงานศิลปะซึ่งจะสามารถสะท้อนตัวตน บุคคลิกภาพ นิสัย ของเจ้าของผลงานได้ในพื้นต้น
  3. การเรียนรู้ที่ดีที่สุดของมนุษย์ คือการลงมือทำ

การประเมินหลังการสอน
ประเมินตนเอง : เปิดใจรับในงานศิลปะมากขึ้น มีสมาธิมากขึ้น ส่วนตัวชอบทำงานอย่างสงบจะรู้สึกมีสาธิหากได้ทำงานในที่ๆสงบก็จะส่งผลในผ่อนคลาย ได้ใช้ความคิด และทำงานศิลปะอย่างมีความสุข
ประเมินเพื่อน : เพื่อนทำงานเร็วมาก ช่วยเหลือเพื่อนๆในห้อง เข้าเรียนตรงเวลา รับผิดชอบในหน้าที่ๆตนได้รับมอบหมาย
ประเมินอาจารย์ : วันนี้ให้งานน้อยแต่เทคนิคเพียบ ขอบคุณมากค่ะ ชอบอาจารย์ตรงที่มองเห็นความเเตกต่างของนักศึกษาแต่ละคนว่ามีความเเตกต่างกันไม่ใช่เฉพาะรูปร่างหน้าตา เเต่ยังรวมไปถึงความคิดเเละวิธีการเเสดงออกดังนั้นอาจารย์จะคอยเเนะนำการผลิตผลงานให้ออกมาในเเบบฉบับของเจ้าของผลงานแต่ยังคงโจทย์เเละข้อกำหนดได้อย่างชัดเจน



บันทึกอนุทินครั้งที่ 9
ประจำวันพุธ ที่ 11 เดือนมีนาคม พ.ศ 2558

>>>>>>>>> ความรู้ที่ได้รับในวันนี้ <<<<<<<<

วันนี้เรียนศิลปะจากกระดาษ จำนวน 10 ชิ้นดังนี้ 


อธิบายงาน  +  เล่นมุขเเป๊กตลอดๆ
ชิ้นที่ 1 ศิลปะฉีกปะกระดาษ 




งานชิ้นที่ 2 ศิลปะการตัดกระดาษ 




งานชิ้นที่ 3 ศิลปะขยำกระดาษ




งานชิ้นที่ 4 ศิลปะการสานลวดลาบด้วยกระดาษ




งานชิ้นที่ 5 ศิลปะการเจาะกระดาษ 




งานชิ้นที่ 6 ศิลปะการการพับกระดาษ 




















งานชิ้นที่ 7 ศิลปะการพับพัด





งานชิ้นที่ 8 ศิลปะการการพับและวาดต่อเติม 


พับเรือค่ะ

งานชิ้นที่ 9 ศิลปะการพับ




งานชิ้นที่ 10 ศิลปะม้วนกระดาษ 



การนำประยุกต์ใช้
  1. สร้างความเเปลกใหม่จากวัสดุเพียงชิ้นเดียวให้ออกมาเป็นผลงานศิลปะที่หลากหลาย
  2. งานศิลปะสามารถสร้างสมาธิให้เด็กจดจ่อกับสิ่งๆนั้นได้เป็นเวลาที่นานขึ้น
  3. ผลงานที่ผลิตออกมาจากผู้ผลิตย่อมสอดแทรกตัวตนของผู้สร้างเสมอ
การประเมินหลังการสอน

ประเมินตนเอง : ทำงานไม่ทันค่าาา เยอะเกิ๊น เยอะได้อีก เยอะจนตอนนี้เสียสละห้องของตัวเองให้ชิ้นงานทั้งหลายเข้าไปนอนสบายใจฉิบส่วนตัวเองนอนเฝ้าบ้านข้างนอกห้องค่าาา 555
ประเมินเพื่อน : เพื่อนทำงานเร็วมากๆบางคนทำงานเสร็จในห้องเลยเเต่ก็มีหลายคนเหมือนกันที่นั่งเป็นเพื่อนกันจนถึงบ่ายสามโมงก็ยังไม่เสร็จฮ่าๆๆๆๆ
ประเมินอาจารย์ : ของานน้อยกว่านี้ยังทันไหม๊ค่ะ ? (คงไม่ทัน) แต่ก็เเปลกใหม่ดีค่ะ บางอันก็ไม่เคยทำก็ได้ลองทำและที่สำคัญเอางานศิลปะเหล่านี้ไปเป็นเกณฑ์ในการสอนเด็กๆให้เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็กแต่ละช่วงวัย




บันทึกอนุทินครั้งที่ 10 
ประจำวันพุธ ที่ 8 เดือนมีนาคม พ.ศ 2558

ความรู้ที่ได้รับในวันนี้

วันนี้มีงานจำนวน 5 ขิ้นงานประกอบด้วย
งานเดี่ยว 3 ชิ้น และ งานกลุ่ม 2 ชิ้น 

บรรยายกาศการทำงาน.....ตั้งใจสุดๆ 5555



ชิ้นที่ 1 ทำเครื่องประดับจากเส้นมักกะโรนี

ชินที่  1 สร้อยคอ
    ชิ้นที่  2 กำไลข้อมือ
อุปกรณ์ 

  • เส้นมักกะโรนี
  • สีผสมอาหาร
  • ไหมหรม/ เชือก /ยางยืด

วิธีการทำ 

  • ทำเส้นมักกะโรนี้เส้นต่างๆไปย้อมสีสันตามชอบ
  • ผึ่งเเดดให้เส้นที่ย้อมไว้เเห้งสนิท
  • นำมาร้อยเป็นเครื่องประดับตามใจชอบ


ชิ้นที่ 2 ทำสิ่งประดิษฐ์จากจานกระดาษ(กิ่งก่าอะเมซอน)



เอากลับมานั่งทำที่บ้าน.....ทำนานมาก

อุปกรณ์

  • จานกระดาษขนาดกลาง
  • กระดาษสี
  • ไม้ไอติม
  • กรรไกร
  • หลอด
  • มักกะโรนี
  • ถุงพลากสติก
  • ลวด
  • ครีมหนีบ
  • ไหมพรม
  • ตาไก่เจาะรู
วิธีการทำ

  1. นำจานกระดาษมาพับครึ่งนำด้านสีน้ำตาลออกด้านนอก
  2. วัดกระดาษสีให้มีขนาดเท่าจานกระดาษาที่เราพับไว้ จากนั้นตัดเเละทากาวแปะให้พอดีกับจานกระดาษ
  3. นำตาไก่มาเจาะรูเป็นลวดลายต่างๆตามใจชอบ
  4. ตกแต่งลวดลายของกิ่งก่าด้วยไหมพรมสีสวย
  5. นำลวดมาเสียบเข้ากับหลอดแล้วขดกลมๆไว้เป็นหาง
  6. นำไหมพรมตกเเต่งเป็นตา
  7. เมื่อส่วนตัวเสร็จแล้วก็นำมาทากาวติดกับไม้ไอติมรอจนเเห้ง
  8. นำมามักกะโรนีมาตกแต่งเป็นเท้ากิ่งก่า
  9. นำถุงพลาสติกมาตกเเต่งเป็นต้นหญ้าทากาวติดไว้กับไม้ไอติมเป็นอันเสร็จ








ชิ้นที่ 3 โมบายจากวัสดุเหลือใช้ (โมบายปลาตะเพียน)



นำทักษะที่มีมาประดิษฐ์ประดอย
อุปกรณ์

  • จานกระดาษ
  • ไหมพรม
  • หลอดสีต่างๆ
  • กรรไกร
วิธีการท

  1. สานหลอดให้เป็นตัวปลาตะเพียน
  2. ร้อยตัวปลากับไหมพรมตามลักษณะที่ชอบ
  3. เจาะรูจานกระดาษ จำนวน 6 รู
  4. นำไหมพรมที่ร้อยตัวปลาเสร็จเรียบร้อยแล้วมาร้อยเข้ากับจานกระดาษ

ชิ้นที่ 4 งานกลุ่ม ศิลปะจากแกนกระดาษทิษชู (กล่องใสดินสอหรรษา)

แอ๊บแบ๋วมาก

อุปกรณ์

  • แกนกระดาษทิษชู
  • จานกระดาษ
  • กรรไกร
  • กระดาษสี
  • กาว
  • ของตกแต่ง
วิธีการทำ

  1. นำแกนกระดาษทิษชูมาพันรอบด้วยกระดาษสี
  2. ทากาวด้านล่างของเเกนกระดาษและแปะติดไว้กับจานกระดาษให้แน่น
  3. จัดเเต่งรูปแบบพร้อมตกแต่งตามใจชอบ

ชิ้นที่ 5 งานกลุ่ม ศิลปะจากวัสดุเหลือใช้



สิ่งประดิษฐ์กับนางแบบกินกันไม่ลงจริงๆ 
อุปกรณ์

  • จานกระดาษ
  • กระดาษสี
  • แกนกระดาษทิษชู่
  • ปากกาเมจิ
  • ดอกไม้กระดาษ
  • เชือก
  • ตาไก่สำกรับเจาะรู
วิธีการทำ

  1. นำจานกระดาษมาตัดครึ้งมาแปะในจานกระดาษอีกอันหนึ่ง
  2. นำปากกาเมจิ ดอกไม้กระดาษ กระดาษสีมาตกแต่งตามใจชอบ
  3. นำแกนทิษชูมาพันรอบด้วยกระดาษสี
  4. นำถุงพลาสติกมาห่อไว้(ลูกอม) ตกเเต่งให้สวยงาม เป็นอันเสร็จ
การนำไปประยุกต์ใช้
ส่วนตัวแล้วชื่นชอบงานประดิษฐ์พอสมควร การทำงานแต่ละครั้งค่อนข้างนานมาก555 การนำไปประยุกต์ใช้น่าจะเป็นในเรื่องของเลือกสิ่งประดิษฐ์ที่เด็กสามารถทำได้ตามพัฒนาการ เวลา และความสนใจของเด็กเป็นหลัก

การประเมินหลังการสอน

ประเมินตนเอง: มาเรียนทันเวลา ตั้งใจทำงาน ไม่ดื้อไม่ซน ช่วยเพื่อนเก็บกวาดห้อง จัดเก็บอุปกณ์ อย่างเป็นระเบียนเรียบร้อยค่าาาา
ประเมินเพื่อน : มีความคิดที่หลากหลายช่วยเหลือเพื่อนด้วยกันและมีน้ำใจ
ประเมินอาจารย์ : ต้นคาบอาจารย์ติดประชุมแต่ก็ยังอุตส่าห์มาดูแลนักษาเมื่อประชุมเสร้จพร้อมให้คำแนะนำดีๆในการคิดประดิษฐ์ของที่เเปลกใหม่