วันเสาร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

   บันทึกอนุทินครั้งที่ 15  
ประจำวันพุธที่ 22 เมษายน 2558

            นำเสนอแผนการสอนการจัดการเรียนรู้ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย(รายกลุ่ม)


การจัดประสบการณ์ต่างๆสำหรับเด็กปฐมวัยเเล้วนั้นไม่ต้องการให้เด็กมาท่องจำเนื้อหาแต่ต้องการให้เด็กเกิดเเนวคิดหลังจากนำสาระที่ควรเรียนรู้นั้นๆมาจัดประสบการณ์ให้เด็กเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้สาระที่ควรเรียนรู้ประกอบด้วยเรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก บุคคล สถานที่เเวดล้อม ธรรมชาติและสิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก

กลุ่มที่ 1หน่วยยานพาหนะ


กิจกรรมพิเศษ เพ้นท์หิน

กลุ่มที่ 2 หน่วยสัตว์ 


กิจกรรมพิเศษประดิษฐ์สัตวืจากไม้ไอติม
กลุ่มที่ 3 หน่วยข้าว


กิจกรรมพิเศษงานศิลปะจากเมล็ดข้าว
กลุ่มที่ 4 หน่วยกล้วย



กิจกรรมพิเศษพิมพ์ภาพจากก้านกล้วย
กลุ่มที่ 5 หน่วยธรรมชาติ 


การประเมินเด็กปฐมวัย
โดยส่วนมากแล้วสาขาปฐมวัยจะใช้เกตการสังเกตเด็กเป็นส่วนใหญ่ เราจะสังเกตเด็กเมื่อไหร่หล่ะ? 
          เราจะสังเกตเมื่อเด็กปฏิบัติกิจกรรม เมื่อเด็กตอบคำถาม มการพูดโต้ตอบ กระบวนการทำงาน หลังจากนั้นก้นำพฤติกรรม ผลงาน มาวิเคาระห์ว่าเด็กปฏิบัติได้ตามวัตถุประสงค์ที่ครูได้ตั้งเป้าไว้หรือไม่
การนำเสนอผลงาน
          การให้เด็กทุกคนได้นำเสนอผลงานของเขาเองเขาจะรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเองเพฉาะฉนั้นหากเป็นไปได้ควรให้เขาได้นำเสนอผลงานด้วยตัวของเขาเองนอกจากความภาคภูมิใจแล้วนั้นเด็กจะได้ในเรื่องเกี่ยวกับภาษาในการสื่อสาร การเเสดงออกทางผลงาน และ การเล่นเเละการมีปฏิพันธ์ร่วมกับผู้อื่น ทั้งนี้การนำเสนอผลงานก็ควรจะดูบริบททั้งในเรื่องของเวลา จำนวนผลงาน เเละสถานที่ หากไม่สามารถท่จะให้เด็กนำเสนองานได้ครบทุกคนในคาบกิจกรรมนั้นๆก็สามารถนำมาเสนอในช่วงเวลาตอนเย็นก่อนกลับบ้านก็ได้
การนำไปประยุกต์ใช้
นำไปจัดแผนกิจกรรมให้เหมาะสมกับ พัฒนาการ ความสนใจ บริบทเเวดล้อมที่จัดกิจกรรม สามารถที่จะมีความยืดหยุ่นเปลี่ยนเเปลงได้ตามบริบทเเละความสนใจในเรื่องนั้นๆของตัวเด็ก
การประเมินหลังการสอน
ประเมินตนเอง : วันนี้เมื่อสอบสอนเสร็จเป็นกลุ่มที่ 2 ได้ขออนุญาติอาจารย์ไปทำธุระที่ต่างจังหวัดและมาเรียนรู้งานเพิ่มเติมจากเพื่อน
ประเมินเพื่อน : เพื่อนมีน้ำใจอธิบายงาน เนื้อหา และข่าวสารที่อาจารย์ได้เเจ้งไว้อย่างละเอียด
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ใจดีที่อนุญาติให้ออกจากห้องเรียนก่อนเวลาเนื่องด้วยมีธุระสำคัญที่ต้องเดินทางไปต่างจังหวัด ขอบคุณค่ะ





บันทึกอนุทินครั้งที่ 16 
ประจำวันจันทร์ ที่ 27 เมษายน 2558  ( สอนชดเชย )

             จัดนิทรรศการสื่อและผลงานศิลปะสร้างสรรค์  
 สำหรับเด็กปฐมวัย

        วันนี้เก็บภาพบรรยากาศการจัดนิทรรศการมาฝากค่าา

อาจารย์ของเราเป็นคนตลก

ช่วยกันจัดสถานที่กันอย่างตั้งใจ


>>>>>>>งานศิลปะร่วมมือ<<<<<<<


การประดิษฐ์สื่อจากแกนกระดาษทิษชู

ศิลปะจากใบไม้และการฝนสี

การรีดสีลงบนผ้าด้วยเตารีด


>>>>>มุมสื่อและผลงานศิลปะสร้างสรรค์<<<<<

มุมแฟ้มสะสมผลงานของนักศึกษา

งานประดิษฐ์โมบายและอาจารย์ ฮ่าๆๆๆ

งานปั้นดินเหนียว

เปเปอร์มาเซ่จากกระดาษทิษชู

งานปั้นดินน้ำมันในกล่องใส่แผ่นซีดี
งานเพ้นท์ก้อนหิน

สิ่งประดิษฐ์จากจานกระดาษ

>>>>> มุมสื่อประดิษฐ์จากสอนศิลป์ <<<<<



>>>>>> กิจกรรมการนำเสนอสื่อของเเต่ละบุคคล <<<<<<







เทคนิคในการจัดงานนิทรรศการศิลปะ
  1. งานศิลปะที่จัดเเสดงนั้นควรเเบ่งเป็นสัดส่วน หรือประเภทอย่างชัดเจนเพื่อความสวยงาม ความเป็นระเบียบ ความชัดเจนของผลงานศิลปะในเเต่ละชิ้นงาน
  2. งานศิลปะสามารถนำมาติดทั้งทั่วทั้งบริเวณห้องไม่ว่าจะเป็น เพดาน ประตู กระดาษ โต๊ะ เก้าอี้ เป็นต้น ทั้งนี้การที่จะเลือกติดผลงานนั้นควรคำนึงถึลงความเหมาะสมของผลงานเป็นหลัก
  3. การจัดผลงานศิลปะนั้นสามารถจัดเรียงได้ตามขนาด รูปทรง หมวดหมู่ และการไล่ระดับของผลงานเพื่อความมีมิติของชิ้นงานนั้นๆให้มีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น
  4. งานศิลปะที่ติดเเสดงนั้นควรอยู่ในระดับสายตาของผู้ชม 
  5. ในงานศิลปะหากมีการเเขวนโมบายอยู่ด้านหน้าไม่ควรจะติดหรือแปะงานศิลปะไว้ด้านหลังเพราะจะทำให้งานศิลปะที่ติดด้านหลังนั้นไม่สามารถดึงดูดความสนใจของผู้เข้าชมงานได้ดีเท่าที่ควร หรือหากจำเป็นที่ต้องติดงานศิลปะจริงๆควรเเก้ไขจากการเเขวนโมบายเปลี่ยนมาเป็นการเเขวนเเบบเฉียงไปตามเเนวห้องวิะีการนี้ก็สามารถช่วยได้เช่นกัน
  6. หากต้องการให้ชิ้นงานใดโดดเด่นในการจัดเเสดงควรเลือกผลงานที่มีสีสันสวยงามสดใสเเละมีรูปร่างรูปทรงหรือลักษณะที่เเตกต่างจากบริบทรอบข้างก็จะทำให้งานชิ้นนั้นโดดเด่นออกมาอย่างเเน่นอน
การนำมาประยุกต์ใช้
  1. นำวิธีการเเละเทคนิคในการจัดเเสดงผลงานทั้งของตนเองเเละจัดเเสดงผลงานสำหรับเด็กปฐมวัยไปใช้ในโอกาศต่างๆอย่างถูกวิธีและดึงดูดความสนใจของผู้เข้าชมผลงาน
  2. งานศิลปะสามารถพัฒนาเด้กและผู้จัดทำได้ครบทั้ง 4 ด้าน คือ ร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ทำให้เกิดความสมดุลและผ่อนคลายต่อตัวผู้จัดทำ
การประเมินหลังการสอน
ประเมินตนเอง: วันนี้มาช่วยเพื่อนๆจัดงานนิทรรศการช้าแต่ก็ยังมีดอกาสได้ช่วยเพื่อนๆจัดมุมนิทรรศการในบางส่วนและนำผลงานศิลปะมานำเสนอให้เพื่อนๆในห้องเรียนได้รับทราบและคิดเเละวิะีการในการจัดทำสื่อของตัวเรา
ประเมินเพื่อน: เพื่อนๆช่วยกันจัดนิทรรศการอย่างเต็มที่แยกย้ายกันไปทำงานในสิ่งที่ตนถนัดบางก็ไปจัดเเต่งผ้าคลุมโต๊ะ บางก็ปีนขึ้นไปแปะ ติด ผลงานตามผนัง บางก็จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการครั้งนี้ ในการนำเสนอผลงานศิลปะของเเต่ละบุคคลนั้นจะเห็นได้ว่าเเต่ละคนมีความสวยงามและมีความคิดที่หลากหลายในการสร้างสรรค์ผลงานออกให้เราได้รับชมแตทุกคนมีข้อคำนึงที่เหมือนกันอยู่ข้อหนึ่งคือผลงานที่เราผลิตขึ้นมานั้นเด็กต้องสามารถทำตามได้หรือประดิษฐ์ได้
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์คอยช่วยเเนะนำและให้คำปรึกษาพร้อมทั้งเทคนิคในการจัดนิทรรศการงานศิลปะที่ทำให้งานออกมาน่าสนในและดึงดูดผู้เข้าชมงานพร้อมทั้งนี้ยังใจดีเเจกของรางวัลเด็กดีอีกด้วย


ขอขอบคุณผู้สนับสนุนหลักอย่างเป็นทางการ
หล่อ สปอร์ต ใจดี จันทรเกษม ฮ่าๆๆๆ


บันทึกอนุทินครั้งที่ 14 

ประจำวัน พุธ - พฤหัสบดีที่ 15 - 16 เมษายน 2558

หยุดวันสงกรานต์ค่ะ



สอนศิลป์: กรอบรูปดินน้ำมัน




วันนี้จะมาทำกรอบรูปจากดินน้ำมันเเละเศษวัสดุที่เหลือจากการทำงานศิลปะครั้งก่อนๆจะออกมาเป็นอย่างไรเราไปดูกันเลยจ้าาาา

>>>>>> อันนี้ของเราเอง <<<<<<<

ใช้การประยุกต์จากในรายการนะค่ะอาจจะไม่เหมือนต้นฉบับเป๊ะๆ

อุปกรณ์การทำ
  1. ดินน้ำมัน
  2. ไม้ไอติม
  3. กาว
  4. วัสดุตกเเต่งตามใจชอบ
  5. น้ำยาเคลือบเล็บ
  6. มีดคัตเตอร์
  7. ไม้จิ้มฟันสำหรับตกเเต่งลวดลายเพิ่มเติม

มาดูวิธีการทำกันเลยดีกว่า




 นำไม้ไอติมมาทากาวเป็นทรงสี่เหลี่ยมหรือตามที่เราต้องการแค่นี้เราก็ได้โครงของกรอบรูปของเราแล้วหล่ะ


นำดินน้ำมันหลายสี เลือกสีที่ตัวเองมามาแปะให้ทั่วกรอบรูป


  

ทีนี้ก็ถงเวลาลงมือคิดจิตนาการสร้างสรรค์ตามแบบฉบับของตัวเองเเล้วใครอยากประดิษฐ์ตกแต่งกรอบรูปของตัวเองอย่างไรเชิญตามสบายจ้า


ขั้นนตอนนี้เป็นการเพิ่มความเงางามให้กับกรอบรูปโดยการเคลือบด้วยน้ำยาเคลือบเล็บจากนั้นรอให้เเห้งนะจ๊ะอย่าพึ่งไปเเตะหรือโดนกรอบรูปประเดี๋ยวกรอบรูปที่เราอุตส่าห์ทำมาจะเป็นรอยหมดสวยกันพอดี




ยังไม่เสร็จเเค่นั้นเมื่อมีกรอบรูปด้านหน้าแล้วเราจะมาทำตัวปิดกรอบรูปด้านหลังกันเริ่มจากวัดกระดาษตามความกว้างและยาวของกรอบรูปของเราตัดและนำไปทากาวแปะทับด้านหลังโดยดูให้เท่ากันทุกๆมุม


จากนั้นมาทำขาตั้งกรอบรูปง่ายๆกันเลยดีกว่า นำกระดาษเเข็ง กระดาษลัง หรือฟิวเจอร์บอดตัดตามเเนวยาวให้เหมือนสี่เหลี่ยมผื้นผ้า แบ่งเป็นสามช่องจากนั้นใช้มีดคัตเตอร์กรีดเบาๆพอเป็นรอยทั้งหมดทั้งสามช่องตามภาพอย่าให้ขาดนะจ๊ะพับกระดาษตามแนวกรีดเข้าหากันเป็นรูปสามเหลี่ยม ทากาวประกบรอเเห้งสนิท



เมื่อกรอบรูปเสร็จสมบูรณ์แล้วเพื่อนๆก็หารูปสวยมาใส่ได้เลยค่าา

การนำไปประยุกต์ใช้
  1. สามารถปรับเปลี่ยนจากไม้ไอติมเป็นวัสดุอย่างอื่นได้ เช่น กระดาษเเข็ง กระดาษลัง ฟิวเจอร์บอด
  2. เป็นการฝึกสมาธิ ใช้ได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ช่วยให้เราคลายความกังวนและหันจดจ่อกับชิ้นงานและถ่ายทอดผลงานออกมาอย่างเป็นตัวเองที่สุด
  3. สร้างความภาคภูมิใจในตนเอง
  4. สามารถนำไปปรับประยุกต์ใช้ได้กับทุกๆวัยตามความเหมาะสม





วันพุธที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2558



บันทึกอนุทินครั้งที่ 13

ประจำวันพุธ - พฤหัสบดี
ที่8 - 9 เดือนเมษายน พ.ศ 2558

>>>>>>>>>>>>>>> ความรู้ที่ได้รับ <<<<<<<<<<<<<<<


มุ่งมั่นกับการสอนมากค่ะ 
ตัวอย่างตารางการจัดกิจกรรมแบบไฮสโคป

วันนี้อาจารย์อธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับเทคนิคสิ่งที่ครูควรทราบและวิธีการเขียนเเผนการจัดประสบการณ์ศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัยเพิ่มเติม 
โดยมีรายละเอียดดังนี้

  1. การใช้พื้นที่ในกระดาษของเด็กในการทำงานศิลปะควรเว้นพื้นที่ด้านล่างประมาณ 1 ไม้บรรทัดเพื่ออธิบายผลงานหรือข้อความของเด็ก
  2. ห้ามเขียนแยกองค์ประกอบของภาพเป็นส่วนๆครูพยายามเขียนเป็นประโยคเพื่อให้เด็กได้ภาษาในการสื่อสาร
  3. ถ้าเป็นงานสีน้ำควรนำผลงานไปตากให้เเห้งก่อนนำมาเขียนอธิบายผลงาน
  4. ถ้าเป็นดินน้ำมันหรือเเป้งโดว์ให้เด็กถือผลงานที่ปั้นหรือเขียนชื่อเด็กก่อนจากนั้นนำกระดาษมาแปะตรงผลงานของเด็กพร้อมกับคำอธิบายผลงานตามที่เด็กบอกเพืื่อให้เด็กได้เ็นงานศิลปะของตนเองเเละของเพื่อน
  5. แป้งโดว์มีข้อจำกัดในเรื่องของระยะเวลาที่น้อยกว่าดินน้ำมัน
  6. งานศิลปะบางอย่างต้องหาที่วางงานศิลปะให้กับเด็ก
  7. งานศิลปะมีการเปลี่ยนเเปลงไปตามหน่วยการเรียนรู้ของเด็กในเเต่ละสัปดาห์
  8. งานศิลปะบางชิ้นเด็กสามารถนำกลับบ้านได้เพื่อนำไปให้ผู้ปกครองได้ดูผลงานที่เด็กผลิตขึ้น
  9. ขั้นสรุปหรือนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน อาจจะให้นำเสนอผลงานในเเต่ละกลุ่มกิจกรรมละ 3-4 คนในชั่วโมงนั้นๆและมานำเสนอผลงานเพิ่มเติมในตอนเย็นทั้งนี้ควรคำนึงถึงบริบทในเรื่องของเวลาเเละจำนวนของเด็ก
 การจัดการเรียนรู้แบบไฮสโคป


การนำไปประยุกต์ใช้

  • การคำนึงถึงในเรื่องพัฒนาการของเด็กเป็นหลักว่าในวันนั้นๆเด้กสามารถทำอะไรได้บางและเด็กสมควรที่จะต้องทำอะไรได้บางเพื่อให้เป็นไปตามพัฒนาการตามวัยที่เหมาะสม
  • งานศิลปะที่เด็กผลิตออกมาสามารถบูรณาการในการเรียนรู้ในหน่วยการเรียนรู้อื่นๆได้ เช่น วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษา
  • ครูต้องเป็นผู้ที่จะพัฒนาจุดเด่น และจุดด้อยในตัวของเด็กให้พัฒนาไปพร้อมๆกันโดยไม่มุ่งเน้นไปตรงจุดเด่นหรือจุดด้อยเพียงอย่างเดียว
การประเมินหลังการสอน 
ประเมินตนเอง : มาเรียนสายบ้างแต่ก็พยายามตามงานที่อาจารย์มอบหมายให้ทำจนครบและเข้าใจในเนื่อหาที่อาจารย์ถ่ายทอดอย่างละเอียดแต่เนื่องจากตอนนี้ไม่มีเเว่นตาใส่และสายตาหนูมันก็สั้นมากๆถึงจะตั้งใจฟังขนาดไหนแต่ตามองไม่ค่อยเห็นก็มีบางที่ไม่ค่อยเข้าใจเพราะไม่ได้เห็นตัวอย่าง วิธีการหรือการสาธิตหน้าชั้นเรียน 
ประเมินเพื่อน : เพื่อนมาเรียนกันตรงเวลาเเต่งกายเรียบร้อยและมีส่วนร่วมในการร่วมตอบคำถามในชั้นเรียนอย่างกระตือรือร้น
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ไม่ใส่สูทก็ดูดีไปอีกแบบ ดูสบายตาดีบางทีชุดไทยอาจจะเหมาะกับอาจารย์ก็เป็นได้นะคะ 5555 อาจารย์อธิบายเนื้อหาเเละเเเนะนำเทคนิคที่สามารถนำไปใช้ได้อย่างไม่มีหวงวิชาพร้อมเเนะแนวทางการเเก้ไขปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นให้ในระหว่างจัดกิจกรรมเช่น การเเบ่งกลุ่มกิจกรรม




วันศุกร์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2558


บันทึกอนุทิน ( พิเศ๊ษ พิเศษ) 

กิจกรรมศิลปะในกล่องใส่ CD  

วัสดุ/อุปกรณ์ 



  1. ดินนำมัน
  2. กล่องใส่CD
  3. น้ำยาเคลือบเล็บ
  4. ไม้จิ้มฟันสำหรับตกเเต่งลวดลาย
วิธีทำ




นำดินน้ำมันสีที่ต้องการมาปั้นเป็นรูปต่างๆตามจินตนาการ (หากอยากได้สีที่เเตกต่างจากนี้ก็ผสมสีของดินน้ำมันแต่ละสีได้เลยจ้า สีเข้ม-อ่อน เลือกตามอัตราส่วนที่ต้องการเลย)




นำดินน้ำมันที่ปั้นได้รูปร่างหรือรุปทรงที่ต้องการแล้วมาแปะลงในกล่องใส่CDกดทับในดินน้ำมันแบนเรียบหรือต้องการให้นูนๆมีมิติก็จัดการตามใจชอบเลยจ้า




นำไม้จิ้มฟันมาตกแต่งลวดลายเมื่อได้รูปตามจินตนาการของเราเรียนร้อยเเล้วนำน้ำยาเคลือบเล็บมาทาเพื่อให้เกิดความเงางาม ปิ๊งๆๆๆๆๆ

เสร็จแล้วค่าาาาาาถ่ายตอนกลางคืนเลยมืดไปหน่อย