วันอังคารที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 8
ประจำวันพุธที่ 6 มีนาคม พ.ศ 2558

>>>>>>>>ความรู้ที่ได้รับในวันนี้<<<<<<<<<<

****** กิจกรรมที่ 1 การทำลูกชุบ ********
วัสดุ-อุปกรณ์ดังนี้



  1. ถั่งเขียวซีกเลาะเปลือก 1/2 กิโลกรัม
  2. น้ำตาลทราย 1/2 กิโลกรัม
  3. ผงวุ้น 1 ห่อ
  4. ไม้เสียบลูกชิ้นหรือไม้จิ้มฟัน
  5. สีผสมอาหาร
  6. กะทิ
  7. โฟมแผ่นหนาใช้สำหรับรองเสียบลูกชุบ
  8. กะทะไฟฟ้า
  9. ปลั๊ก 3ตา
  10. จานหรือถ้วยใส่สี
วิธีการทำ
1. นำถั่วเขียวเลาะเปลือกมาทำความสะอาดและแช่น้ำทิ้งไว้ประมาณ 2 ชั่วโมงจากนั้นจึงนำไปนึ่งให้สุกใช้เวลาประมาณ 15 นาที)
2. เมื่อถั่วเขียวสุกดีแล้วให้นำไปใส่ในเครื่องปั่นไฟฟ้าพร้อมกับน้ำตาลทรายและน้ำกะทิ  ปั่นจนส่วนผสมทั้งหมดเข้ากันดี
3. จากนั้นจึงเทส่วนผสมลงในกระทะทองเหลือง(หรือกระทะเคลือบเทฟลอนก็ได้)และตั้งบนไฟอ่อนๆค่อยๆกวนจนข้นและเหนียว(ใช้เวลาประมาณ 20 - 30 นาที) จึงปิดไฟและทิ้งไว้ให้เย็น(ถั่วต้องแห้ง มิเช่นนั้นจะไม่สามารถนำไปปั้นได้)
4. ก่อนปั้นให้นวดส่วนผสมทั้งหมดอีกครั้งจนเข้ากันเป็นเนื้อเดียวจากนั้นจึงปั้นให้เป็นรูปทรงตามใจชอบ(ผัก, ผลไม้หรือสัตว์น่ารักๆ)เมื่อปั้นเสร็จให้เสียบไม้จิ้มฟันรอไว้ 
5. ผสมสีผสมอาหารตามต้องการแล้วจึงบรรจงแต่งสีลงบนถั่วปั้นให้เหมือนจริง 
6. ทำน้ำวุ้นโดยผสมน้ำเปล่า,ผงวุ้นและน้ำตาลลงในหม้อนำไปตั้งบนไฟร้อนปานกลาง หมั่นคนอย่างสม่ำเสมอรอจนส่วนผสมเดือดช้อนฟองที่ลอยหน้าออกจึงหรี่ไฟลง
7. นำถั่วปั้นที่แต่งสีแล้วไปชุบในน้ำวุ้นควรชุบประมาณ 2 - 3 ครั้งระหว่างชุบวุ้นต้องอุ่นน้ำวุ้นด้วยไฟอ่อนเพื่อไม่ให้วุ้นแข็งถ้าไม่พอก็ผสมน้ำวุ้นขึ้นใหม่ตามอัตราส่วนข้างต้น
8. นำลูกชุบออกจากไม้ิจิ้มฟันตัดแต่งเศษวุ้นส่วนเกินออกด้วยกรรไกรจัดใส่จาน 


มีภาพบรรยากาศในการทำขนมลูกชุบมาฝากจ้าาา



ปั้นไปกินไปอร่อยยย


งามค่ะ.....แต่ละคนน่าจะเอาดีด้านทำขนมกันไปเลย 555


มันฟินค่ะ......อาจารย์ขาาาาไม่เชื่อดูจากหน้าพวกหนูซิค่ะ


สวยงาม....สมกับหน้าตาพวกเราจริงๆ แต่รสชาติก็อีกเรื่องนะค่ะ ชิมกันเอาเอง 5555


อาชีพเสริม.....น่าสนนะค่ะอาจารย์บาส

******** กิจกรรมที่ 2......ศิลปะจากสีน้ำ ***********


ผลงานชิ้นที่ 1
พลีกายได้....เพื่องานกลุ่มของเรา อิอิ (พิมพ์ภาพจากส่วนต่างๆของร่างกาย)


ผลงานสำเร็จ

ผลงานชิ้นที่ 2 
การพิมพ์ภาพจากวัสดุจากธรรมชาติ


ผลงานชิ้นที่ 3
การพิมพ์ภาพจากฟองน้ำ

ผลงานชิ้นที่ 4
การพิมพ์ภาพจากพืช
ผลงานชิ้นที่ 5 

การพิมพ์ภาพจากวัสดุเหลือใช้

การนำไปประยุกต์ใช้
  1. เรียนรู้การทำขนมลูกชุบอย่างเป็นลำดับขั้นตอน
  2. นำเทคนิคที่ได้ไปฝึกฝนจะทำให้ชิ้นงานในการทำลูกชุบดียิ่งขึ้นเช่นการปั้น การผสมสี เป็นต้น
  3. วัสดุจากธรรมชาตมีลวดลายที่สวยงามเฉพาะตัวบางชิ้นงานแทบจะไม่ต้องดัดเเปลงวัตถุดิบที่ทำมาทำงานศิลปะเลย
  4. ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่เรียนรู้ได้ดีที่สุดจากการลงมือทำ
การประเมินหลังการสอน

ประเมินตนเอง : วันนี้งานไม่เยอะเท่าอาทิตย์ก่อนๆเเต่สถานที่ทำงานร้อนอบอ้าวมากเลยทำให้รู้สึกว่าร่างกายเพลียๆตั้งเเต่ตอนทำขนมลูกชุบเเล้วแต่ก็ตั้งใจทำงานจนเสร็จครบทุกชิ้น
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆมีอาการเดียวกันกับหนูเลยเพลียเเดดเพลียอากาศที่ร้อนอบอ้าวแต่ทุกคนก็อดทนทำงานที่ได้รับมอบหมายจนเสร็จ เรื่องการทำขนมไส้ของขนมมีรสชาติที่เเตกต่างกันออกไปในเเต่ละกลุ่มถือว่าเป็นประสบการณ์การทำขนมครั้งเเรกที่จะจดจำไปอีกนาน
ประเมินอาจารย์ : ถึงอากาศจะร้อนอบอ้าวเเต่อาจารย์ก็ร้อนไปกับพวกเราด้วย มาสอนตรงเวลาเป๊ะ ช่วยทุกกลุ่มในการทำงาน พร้อมกับชิมขนมของทุกกลุ่มด้วยหนูเดาว่ารสชาติอร่อยติดตาตรึงใจไปอีกนานเลยหล่ะค่ะ 555555





บันทึกอนุทินครั้งที่7
ประจำวันพุธ ที่ 25 กุมภาพันธุ์ พ . ศ 2558

ไม่มีการเรียนการสอน
เนื่องจากสอบกลางภาคตั้งเเต่วันที่ 23 กุมภาพันธุ์- 1มีนาคม 



บันทึกอนุทินครั้งที่ 6
ประจำวันพุธ ที่ 18 เดือนกุมภาพันธุ์ 
พ . ศ 2558


วันนี้งานศิลปะ 14 ชิ้นงาน ดังนี้

อาจารย์อธิบายรายละเอียดของงานแต่ละชิ้นงานและวิธีการสร้างชิ้นงานศิลปะในรูปแบบต่างๆ

ช่วยกันจัดเตรียมอุปกรณ์ในแต่ละกลุ่ม


ผลงานชิ้นที่ 1
การวาดภาพด้วยสีน้ำ


 ผลงานชิ้นที่ 2 
การดึงเส้นด้ายชุบสี

ผลงานชิ้นที่ 3 
การเป่าสี


 ผลงานชิ้นที่ 4 
การกลิ้งสีโดยใช้ลูกแก้ว


 ผลงานชิ้นที่ 5  
การเทสี


ผลงานชิ้นที่ 6  
การย้อมสีกระดาษทิษชูู


ผลงานชิ้นที่ 7 
การเพ้นก้อนหิน


ผลงานชิ้นที่ 8 
การพับสี
  

ผลงานชิ้นที่ 9  
การเป่าฟองสบู่


ผลงานชิ้นที่ 10 
การพ่นสี

ผลงานชิ้นที่ 11 (งานกลุ่ม) 
จุดสร้างภาพโดยการใช้ก้านสำลี

ผลงานชิ้นที่ 12 
การสลัดสีโดยใช้เเปรงสีฟัน

ผลงานชิ้นที่ 13 

การหยดสี


*********** ผลงานชิ้นที่ 14 (งานกลุ่ม) **********
การละเลงสี
โดยการทำเเป้งที่ได้จากการกวนเสร็จเเล้วนำมาเทลงในถาดเพื่อทำการวาดภาพได้ตามจินตนาการข้อดีของการละเลงสีวิธีนี้คือสามารถวาดและลบได้ตามแต่ใจของผู้วาด นำมาใช้เเทนกาวในการปะกระดาษหรือทำงานศิลปะ ไม่เป็นอันตรายต่อเด็กและสามารถทำได้ง่ายราคาประหยัดกว่ากาวทั่วไป

*********    เสร็จงานเเล้วพวกเราช่วยกันล้างทำความสะอาดอุปกรณ์ที่ใช้ค่าาาา  ********** 



การนำไปประยุกต์ใช้
  1. นำความหลากหลายของสีชนิดเดียวกันมารังสรรค์เป็นงานศิลปะที่มีความเเตกต่างกันตามแต่สภาพเเวดล้อม ความเหมาะสม และพัฒนาการของเด็กในเเต่ละช่วงวัย
  2. เน้นการพัฒนาครบทั้ง 4 ด้าน ร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญาไปพร้อมๆกับการทำกิจกรรม
  3. การเตรียมวัสดุและอุปกรณ์ให้มีความเพียงพอต่อความต้องการของเด็กมีความสำคัญอย่างยิ่งในการจัดทำกิจกรรมศิลปะ

การประเมินหลังการสอน
ประเมินตนเอง : วันนี้งานเยอะมากค่ะทำแทบไม่ทันแต่ก็แปลกใหม่ดีเพราะบางชิ้นงานก็ไม่เคยได้ทำที่ไหนมาก่อนแต่สีน้ำยากมากควบคุมทิศทางค่อนข้างลำบากซึ่งงานศิลปะบางชิ้นงานน่าจะเหมาะกับเด็กที่โตขึ้นมาอีกนึดนึงนะค่ะเเต่สำหรับคนที่จะไปเป็นครูก็จะต้องหัดทำหลายๆรูปแบบเพื่อเป็นเเนวทางในการนำไปจัดการเรียนรู้ที่หลากหลายให้เหมาะสมกับเด็กในเเต่ละช่วงวัย
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆมีมุมมองทางศิลปะที่เเตกต่างกันงานศิลปะของเเต่ละคนจึงมีความหลากหลายเพื่อเเสดงถึง ตัวตน อารมณ์ และความคิดของผู้สร้างงานศิลปะ
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์อธิบายรายละเอียดชัดเจนเข้าใจง่ายพร้อมทั้งนี้ยังสอนเทคนิคในการสร้างสรรค์งานศิลปะแต่ละประเภทของงานได้อย่างสนุกสนาน เรียกว่าอาจารย์มีเท่าไหร่ความรู้ก็ถ่ายทอดออกมาให้ศิษย์จนหมดเลยหล่ะค่ะ 55555